fbpx

เบาหวาน โรคเรื้อรังที่ต้องใส่ใจ

บทความเกี่ยวกับโรคเบาหวาน : ชนิดเบาหวาน อาการแทรกซ้อนของเบาหวาน ข้อปฏิบัติตนเมือเป็นเบาหวาน

เบาหวาน โรคเรื้อรังที่ต้องใส่ใจ

คนที่เป็นเบาหวาน เนื่องจาก

-ขาดอินซูลิน

-หรือประสิทธิภาพอินซิลิน ลดลง

ทำให้น้ำตาลกลูโคสไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้เหมือนปกติ น้ำตาลกลูโคสจึงเหลือค้างอยู่ในเลือดมาก และมีระดับสูงกว่าปกติ

        เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องดูแล ใส่ใจ ทั้งด้าน อาหาร การดูแลตนเอง ด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย การรับประทานหรือฉีดยาสมำเสมอ การดูแลระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจาก มีอาการแทรกซ้อนกระทบหลายระบบ เช่น หัวใน ตา ไต กรณีผู้ป่วยไม่ใส่ใจดูแล จะนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น อัมพาต ตาบอด ไตวาย

บทความนี้จะกล่าวถึงเบาหวานในหัวข้อต่างๆคือ

เบาหวาน คืออะไร

ประเภทเบาหวาน

อาการแทรกซ้อนของเบาหวาน

ข้อปฏิบัติตนเมือเป็นเบาหวาน

เกณฑ์เป้าหมายของค่าน้ำตาลในเลือด

เบาหวาน คืออะไร

        เบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาด อินซูลิน หรือ อินซูลินมีประสิทธืภาพลดลง ทำให้เมตาบอลิซึ่มของน้ำตาลในร่างกายผิดปกติไม่สามารถใช้น้ำตาลให้เป็นพลังงานได้ น้ำตาลจึงเหลือค้างในเลือดจนล้นออกมาในปัสสาวะ

-อินซูลินเป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย และเกิดการเผาผลาญกลายเป็นพลังงานให้ร่างกาย

-คนที่เป็นเบาหวาน เนื่องจาก ขาดอินซูลิน,หรือประสิทธิภาพอินซิลิน ลดลงทำให้น้ำตาลกลูโคสไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้เหมือนปกติ น้ำตาลกลูโคสจึงเหลือค้างอยู่ในเลือดมาก และมีระดับสูงกว่าปกติ

 ปัจจัยเสียงของการเป็นเบาหวาน

กรรมพันธ์ ,พฤติกรรมบางอย่าง ,คนอายุ 40 ปีขึ้นไป ,การตั้งครรภ์ ,โรคตับอ่อนบางชนิด , ยาบางชนิด

  • กรรมพันธ์ ผู้ที่มีพ่อแม่เป็นเบาหวาน มีโอกาสเป็นเบาหวานถึง 6-10 เท่า
  • พฤติกรรมบางอย่าง เช่น ความอ้วน การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่จัด
  • ผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากการสังเคราะห์และหลั่งอินซิลินลดลง
  • การตั้งครรภ์ทำให้รกสร้างฮอร์โมนหลายชนิด ซึ่งมีผลยับยั้งการทำงานของอินซฺลิน
  • โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ได้รับการผ่าตัดตับอ่อน
  • การติดเชื่อบางชนิด เชน หัด หัดเยอรมัน การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • การได้รับยาบางชนิดมีผลต่อเบาหวาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิด

ดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุก 6-12 เดือน

อาการที่สังเกตุได้ในผู้ป่วยเบาหวาน

  • ปัสสาวะบ่อย
  • หิวน้ำบ่อย
  • กินจุ
  • อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลด

กรณีสังเกตุเห็นอาการผิดปกติเหล่านี้ ต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อ

อาการนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว

  • มองไม่ชัด
  • ลมหายใจมีกลิ่น acetone ( กลิ่นหอม)
  • หายใจเร็ว ติดขัด
  • คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง

อาการแทรกซ้อนของเบาหวาน

        อาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน แบ่งเป็น อาการแทรกซ้อนเฉียบพลัน และ เรื้อรัง

***กรณีผู้ป่วยเบาหวานมีอาการเฉียบพลัน ไม่ว่าข้อใดก็ตาม ให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลด่วน

อาการแทรกซ้อนเฉียบพลัน เป็นอาการทีเกิดกระทันหันในเวลาใดเวลาหนึ่ง

   

  • กินยาลดน้ำตาลหรือ ฉีดอินซูลินมากเกินไป
  • ออกกำลังกายมากกว่าปกติ
  • กินอาหารน้อยกว่าปกติ
  • ตาลาย ตาพล่ามัว
  • หัวใจเต้นแรงและเร็ว
  • สับสน เลอะเลือน
  • เหงื่อออกมาก ตัวเย็น
  • หน้ามือ เวียนศรีษะ
  • หงุดหงิด ฉุนเฉียว
  • หิวมาก มือสั่น
  • กรณีเป็นมาก จะมีอาการชัก หมอสติ

****อาการดังกล่าว ทำให้ช็อกจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

หมายเหตุ กรณีน้ำตาลในเลือด่ำ ให้คนไข้ดื่มน้ำหวานที่ดูดซึมง่ายเช่น น้ำผลไม้ ก่อนที่จะปรึกษาแพทย์

   

  • กินยาลดน้ำตาลหรือฉีดอินซูลินน้อยเกินไป
  • กินอาหารมากกว่าปกติ
  • ความเครียด
  • เจ็บป่วยเช่นเป็นไข้หวัด
  • อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย
  • กระหายน้ำ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ตามัว
  • บางรายอาจชักกระตุกเฉพาะที

   

  • อินซิลินไม่เพียงพอที่จะพาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงาน
  • น้ำตาลในเลือดสูง
  • มีการย่อยสลายไขมันมาเป็นพลังงาน
  • สารคีโตนในเลือดสูงขึ้น
  • คลื่นไส้ อาเจียนมาก
  • กระหายน้ำ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • หายใจหอบลึก
  • ลมหายใจมีกลิ่นหวานของอะซิโตน และคีโตน
  • ร่างกายสูญเสียน้ำ
  • ออ่นเพลียและเป็นลม

       เมื่อผลการทดลองมากมายเกี่ยวกับการปรับลดระดับน้ำตาลด้วยสารออกฤทธิ์ในใบผักเชียงดาเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายแล้ว จึงมีการทดลองประสิทธิภาพของกรดจิมนิมิกกับกรดไขมันโอเลอิกได้ผลว่าได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจเช่นกัน ผักเชียงดาช่วยยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลทำให้น้ำตาลส่วนเกินไม่เปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย จึงมีผู้ควบคุมน้ำหนักหลายท่านบริโภคผักเชียงดาแปรรูปอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักและสุขภาพที่ดี

   ใบผักเชียงดาให้สารเบต้าแคโรทีนในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งสารดังกล่าวช่วยบำรุงสายตา ควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นสารต้านปฏิกิริยา

  ออกซิเดชั่น กำจัดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งตับ มะเร็งในกระเพาะอาหาร โรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน

  การศึกษาเภสัชวิทยาระบุว่าสารซาโปนินที่พบในใบผักเชียงดานอกจากจะมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ำตาลในลำไส้แล้วยังสามารถป้องกันการทำลายดีเอ็นเอในเซลล์เลือดขาวมนุษย์ชนิด lymphoblastoids ได้อีกด้วย

  กลุ่มสันมหาพนสมุนไพรอินทรีย์ผลิตและจัดจำหน่ายชาผักเชียงดาเชียงดาแคปซูลที่ผลิตในสถานที่ผลิตอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัย ได้รับการรับรองมาตรฐานอย. ฮาลาล GMP และออร์แกนิคสำหรับการแปรรูปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

       ผลแทรกซ้อนจากการเป็นเบาหวานระยะยาว เกิดขึ้นช้าๆโดยไม่รู้ตัว เมื่อเกิดแล้ว จะรักษาให้เหมือนเดิมได้ยาก หรือ ไม่ได้เลย

ข้อปฏิบัติตนสำหรับคนเป็นเบาหวาน

    เนื่องจากเบาหวานเป็นโรคที่ไม่หายขาด แต่ถ้าคนไข้รู้จักดูแลตนเอง คุมระดับน้ำตาล ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมได้ อาการแทรกซ้อนของเบาหวานทั้งแบบเฉียบพลัน และ เรื้อรัง ก็จะลดลง

 

หลัก N.E.E.D.S จำเป็นสำหรับปฏิบัติเพื่อควบคุมเบาหวาน

  • โภชนาการ
  • ออกกำลังกาย
  • ศึกษาหาความรู้
  • ได้รับยาสม่ำเสมอ
  • ตรวจระดับน้ำตาลเสมอ

.NUTRITION

. EXERCISE

. EDUCATION

. DRUG THERAPY

. SELF-MONITORING OF BLOOD GLUCOSE

NUTRITION ปรับเปลี่ยนอาหารให้เหมาะสมกับเบาหวาน

อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ต่างจากคนปกติมากนัก แต่ต้องเน้นการบริโภคอาหารให้ได้สัดส่วน ปริมาณ และความหลากหลายของอาหาร

ปิรามิดอาหาร

เป็นแนวทางในการรับประทานอาหารในแต่ละวัน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

-ต้องจำกัดอาหารประเภทไขมัน อัลกอฮอลล์ ของหวาน

-อาหารประเภทโปรตีน เช่น นม เนื้อสัตว์ ทานได้บ้าง นมที่ดื่มควรเป็นนมจืด และ นมพร่องมันเนย

-ผักทานได้จำนวนมาก โดยเฉพาะผักใบเขียว เข่น คะน้า ผักบุ้ง

-ผลไม้ที่ทานได้ดี คือ ผลไม้ที่มีน้ำมากๆ แต่รสชาดไม่หวานจัด ใน1 มื้อควรรับประทาน 1 ชนิดเท่านั้น ผลไม้รสหวาน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กระป๋อง และผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงควรหลีกเลี่ยง เช่น ทุเรียน ลำใย มะม่วงสุก สับปะรด กล้วยตาก ลูกเกด

-อาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ต้องกำหนดปริมาณ ควรเลือกรับประทานข้าวกล้อง แทนข้าวจ้าว ขนมปัง เพราะมีวิตตามินและเส้นใยมาก

EXERCISE การออกกำลังกายสม่ำเสมอ

      ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ได้ดีขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น ป้องกันโรคแทรกซ้อน นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดไขมัน และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่ทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือด

ข้อปฎิบัติขณะออกกำลังกาย

  • ออกกำลังกายในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี 
  • สวมรองเท้าที่สบายแต่หุ้มห่อเท้าได้ดี ไม่ควรรัดนิ้วเท้า และไม่ควรมีส้นสูงเกิน 1 นิ้ว
  • ควรใส่ถุงเท้าสำหรับเบาหวาน เพื่อป้องกันแผล และ ทำให้เลือดไหลเวียนบริเวณเท้าดีขึ้น
  • ต้องมีการเตรียมตัวร่างกายก่อนออกกำลังกาย และผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย
  • ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ รู้สึกจะเป็นลม คลื่นไส้ มึนศีรษะ หรือผิดปกติอื่นๆ ควรหยุดการออกกำลังกาย

 ข้อระวังการออกกำลัง

  • เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้สม่ำเสมอ และมีระดับน้ำตาลสูงกว่า 250มก./ดล.
  • ความดันโลหิตขณะพักเกิน 200/100 ก่อนออกกำลังกาย
  • ภาวะเจ็บป่วยเฉียพลัน เช่น ไข้สูงเป็นต้น
  • มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ยังควบคุมไม่ได้
  • ภาวะที่ข้อและกระดูกมีอาการอักเสบ
  • มีอาการเจ็บหน้าอก หรือโรคหลอดเลือดหัวใจที่ยังควบคุมไม่ได้
  • เมื่ออากาศร้อนอบอ้าวหรือร้อนจัด และสถานที่อากาศถ่ายเทไม่ดี

       ผู้ป่วยเบาหวานควรใส่ใจในการหาความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพื่อให้ทราบถึงการปฎิบัติตัวในด้านต่างๆ เช่น

-การดูแลตนเองอย่างถูกวิธี ทั้งด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย -การดูแลร่างกาย เช่น วิธีดูแลเท้าไม่ให้เกิดแผล

-การตรวจระดับน้ำตาลด้วยตัวเอง -ทราบถึงเกณฑ์เป้าหมายระดับน้ำตาลในเลือด

-การจัดการเบื้องต้นกับอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่นน้ำตาลในเลือดตำกว่าปกติ

พบว่าสามารถลดอาการแทรกซ้อนต่างๆของโรคเบาหวาน ได้อย่างมีนัยสำคัญ

ปัจจุบันมีแหล่งความรู้สำหรับผู้เป็นเบาหวานและญาติผู้ป่วยมากมาย เช่น หนังสือ แผ่นพับ การเข้าคอร์สอบรม ให้ทราบวิธีการปฏิบัติตนที่้ถูกต้อง เพื่อการมีชีวิตที่ยืนยาว และปกติ ปราศจากโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

ยาที่ใช้ในการรักษามีอยู่ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบยาฉีดอินซูลิน และ ยาเม็ดรับประทาน

สำหรับเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2     

-การออกฤทธิ์ อินซิลินสังเคราะห์เสมือนอินซูลินของร่างกาย ซึ่งออกฤทธ์ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

 

 

สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2     

 

-ออกฤทธ์โดยวิธีกระตุ้นให้ตับออ่นหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น หรือเพิ่มประสิทธิภาพของอินซิลิน ในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลของร่างกาย

 

SELF-MONITORING OF BLOOD GLUCOSE

     หมั่นวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง การวัดระดับน้าตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ทราบสภาวะการคุมน้ำตาลในเลือด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองให้เหมาะสม เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย

ควรตรวจระดับน้ำตาลในกรณี

  • ค่าน้ำตาลในเลือดไม่สมำเสมอ
  • ภาวะเจ็บป่วย
  • ภาวะเครียด
  • ตั้งครรภ์
  • ไม่แน่ใจว่าอาหารที่ทานเหมาะสมหรือไม่ , การออกกำลังกายเหมาะสมหรือไม่

 

ควรปรึกษาแพทย์ทันทีในการณี

  • ตรวจพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์
  • ตรวจพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์
  • กรดคั่งในเลือด
  • ผู้ป่วยเบาหวานควรมีเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง

เนื่องจาก

ตรวจแล้วทราบผลทันที ทำให้ทราบระดับของการควบคุมน้ำตาลในขณะนั้น

ตรวจง่ายทำได้ทุกที่ ทุกเวลา

ไม่เสียเวลาเดินทางและเสียเวลารอผลนาน

สามารถนำผลน้ำตาลมาปรับปรุงตัว โดยการควบุมอาหาร การออกกำลังกาย และการปรับยา

ช่วยวินิจฉัยเรื่องน้ำตาลต่ำ และลดผลกระทบจากน้ำตาลต่ำ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีอาการเตือนของน้ำตาลต่ำ

ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องใช้ การฉีด INSULIN เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล จำเป็นต้องมีเครื่องตรวจเบาหวาน

เพือให้ทราบระดับน้ำตาลในเลือด และ นำมาปรับขนาดของอินซูลิน

        A1c คือค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ค่า A1c ไม่ได้แสดงการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลกลูโคสสในเลือดทุกวัน ประโยชน์ค่า A1c เพื่อพิจารณาถึงความสม่ำเสมอในการคุมน้ำตาล เช่น วันที่ไปพบหมอที่ รพ. คนไข้บางคนจะอดอาหารล่วงหน้า 1-2วัน เพื่อให้ผลการตรวจน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้หมอวินิจฉัยโรคผิด จึงต้องพิจารณาร่วมกันระหว่าง 2 ค่า

*สำหรับการตรวจน้ำตาลในเลือดตามเงื่อนไข คือ ก่อนอาหาร หรือ 2 ชม.หลังลงมือรับประทานอาหาร สามารถใช้เครื่องตรวจน้ำตาล ตรวจด้วยตนเองได้ ค่าที่ได้เพื่อค้นหาสิ่งต่อไปนี้

 

  • ปริมาณและชนิดของอาหารมีผลอย่างไรต่อน้ำตาลในเลือดของผู้ตรวจ
  • อินซูลินในร่างกายทำงานเป็นปกติหรือไม่
  • เกิดอะไรขึ้นกับน้ำตาลในเลือดเมื่อป่วย
  • ออกกำลังกาย
  • เครียด
  • ลืมรับประทานยา

ภาคผนวก

  • สมุดคู่มือเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานควรมี บันทึกผล และพกติดตัวเสมอ
  • วิตตามืนและอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

 

สารอาหารต่างๆในร่างกายผู้ป่วยเบาหวาน จะถูกนำไปใช้มากกว่าคนปกติหลายเท่า จึงทำให้ต้องรับประทานสารอาหารที่มีประโยชน์มากกว่าคนอื่นๆ

วิตตามิน อาหารเสริมที่ควรใช้

โครเมียม

กรดโฟลิก

กรดอัลฟา-ไลโปอีก -LIPO-X

สาหร่ายสไปรูไลน่า

วิตตามินบี เช่น B1 6 12

วิตามินอี

สำหรับรายละเอียด จะกล่าวในหัวขอ้อื่นต่อไป

คำถามคำตอบเกี่ยวกับบทความ เบาหวาน โรคเรื้อรังที่ต้องใส่ใจ

1 ถาม อยากทราบรายละเอียดการฉีดอืนซูลิน วิธีการฉีด ข้อระวัง

ตอบ

  • การใช้ยาฉีดอินซูลิน จะใช้ในกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่1 นอกจากนี้ยังใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ที่ไม่สามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้ด้วยยากินหลายชนิดร่วมกัน
  • วิธีฉีด จะฉีดเข้าใต้ผิวบริเวณต้นขา หรือ หน้าท้อง วันละ 1-4 ครั้ง ก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง ในแต่ละช่วงการฉีด ควรหมุนเวียนเปลี่ยนที่ฉีด แต่ยังอยู่ในบริเวณเดียวกัน เช่น  ตอนเข้าฉีดบริเวณหน้าท้อง ก็ควรหมุนเปลี่ยนที่ฉีดแต่ยังอยู่บริเวณหน้าท้อง เป็นต้น กรณีผู้ป่วยออกกำลังกาย ไม่ควรฉีดอินซูลินที่แขนหรือขาถ้าต้องออกกำลังกายด้วยแขนขาด้านนั้น
  • ขนาดและเวลาในการฉีดอินซูลิน ต้องทำตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เนื่องจากการฉีดอินซูลินที่มากหรือน้อยเกินไปจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป
  • กรณีที่ค่าน้ำตาลที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ผิดไปจากค่าปกติมาก (ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังอาหาร 2 ชม. 140-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
Post Views: 257